ตอนที่ 1 จงอธิบายคำถามต่อไปนี้
1. จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่นักเรียนพบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย
5 ระบบ
1 ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา 2 ระบบสารสนเทศการแสดงหุ้นของบริษัทต่างๆยีการเกษตร
3 ระบบสารสนเทศทางการเเพทย์
4 ระบบสารสนเทศการเงินการธนคาร
5 ระบบสารสนเทศเทคโนโล
2. เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารเทศได้อย่างไรบ้าง
จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
เทคโนโลยีสารสนเทศคือ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน
3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก
ตัวอย่าง
- ระบบเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมาก ให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร
- คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ประมวนผลข้อมูล
- โทรทัศน์ วิทยุ กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์ ,เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก ,เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม.โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล ฯลฯ
3. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมีกี่ส่วน
อะไรบ้าง
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ มี 5 องค์ประกอบ
1. ฮาร์ดแวร์
2.ซอฟต์แวร์
3.ข้อมูล
4.บุคลากร5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
4. จงอธิบายการประมวลผลแบบกลุ่ม และ แบบเชื่อมตรง
การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing) หมายถึง
การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการทราบผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลโดยเก็บรวบรวมข้อมูล
เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว ก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานผล
หรือสรุปผลหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อนการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing) หมายถึง การทำงานในขณะที่ข้อมูลเดินทางไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผล การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีการที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง
5. ประโยชน์ของ
Geographic
Information System มีอะไรบ้าง
1. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การกำหนดพื้นที่ป่าไม้ แหล่งน้ำ
ทั้งบนผิวดินและใต้ดิน ธรณีวิทยาหินและแร่ ชายฝั่งทะเลและภูมิอากาศ
2. ด้านการจัดการทรัพยากรเกษตร เช่น การแบ่งชั้นคุณภาพพื้นที่เกษตร
ดินเค็มและดินปัญหาอื่น ความเหมาะสมของพืชในแต่ละพื้นที่ การจัดระบบน้ำชลประทาน
การจัดการด้านธาตุอาหารพืช
6. ให้นักเรียนยกตัวอย่างระบบสารสนเทศระดับต่างๆ
มาอย่างน้อยระดับละ 1ตัวอย่าง
ระดับสารสนเทศ ระดับบุคคล เป็นระบบสารสนเทศที่เสริมประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มผลงานให้บุคลากรแต่ละคนในองค์กร ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
1. จัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงในการจัดการสารสนเทศของหน่วยงาน หรือองค์กรให้แก่บุคลากรได้ใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก เรียกค้นข้อมูลมาใช้ได้สะดวก รวดเร็ว เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่มีจุมากๆ ซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูงในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นต้น
ระดับของสารสนเทศ ระดับกลุ่ม เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลให้ทำงานร่วมกันได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ทรัพยากรข้อมูล และอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
1. การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือเข่ายท้องถิ่นหรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) เพื่อให้มีการเชื่อมโยงและใช้ทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกัน ข้อมูลที่ใช้ร่วมกันในหน่วยงานจะบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลกลางที่เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม ถ้ามีคนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลกลางนี้ ผู้ใช้คนอื่นที่อยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็จะไดรับข้อมูลที่ผ่านการแก้ไขแล้วทันที
ระดับสารสนเทศ ระดับองค์กร เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน หลายแผนก หลายฝ่าย ด้วยการส่งผ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องถึงกัน จากหน่วยงานหนึ่งข้ามไปยังอีกหน่วยงานหนึ่ง ด้วยคอมพิวเตอร์ของแต่ละหน่วยงาน
ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศที่พบเห็นในระดับองค์กร เช่น การประสานงานเพื่อสร้างรายได้ให้กับธุรกิจการค้า โดยมีฝ่ายต่างๆ ปฏิบัติงานร่วมกัน ได้แก่ ฝ่ายการขาย ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายพัสดุและฝ่ายการเงินซึ่งแต่ละฝ่ายอาจมีระบบข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการปฏิบัติการของฝ่ายและมีระบบการสื่อสารหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างฝ่ายซึ่งส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจ สร้างผลกำไร กระตุ้นยอดขายสินค้า และเรียกเก็บเงินจากลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
1. จัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงในการจัดการสารสนเทศของหน่วยงาน หรือองค์กรให้แก่บุคลากรได้ใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก เรียกค้นข้อมูลมาใช้ได้สะดวก รวดเร็ว เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่มีจุมากๆ ซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูงในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นต้น
1. การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือเข่ายท้องถิ่นหรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) เพื่อให้มีการเชื่อมโยงและใช้ทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกัน ข้อมูลที่ใช้ร่วมกันในหน่วยงานจะบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลกลางที่เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม ถ้ามีคนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลกลางนี้ ผู้ใช้คนอื่นที่อยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็จะไดรับข้อมูลที่ผ่านการแก้ไขแล้วทันที
ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศที่พบเห็นในระดับองค์กร เช่น การประสานงานเพื่อสร้างรายได้ให้กับธุรกิจการค้า โดยมีฝ่ายต่างๆ ปฏิบัติงานร่วมกัน ได้แก่ ฝ่ายการขาย ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายพัสดุและฝ่ายการเงินซึ่งแต่ละฝ่ายอาจมีระบบข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการปฏิบัติการของฝ่ายและมีระบบการสื่อสารหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างฝ่ายซึ่งส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจ สร้างผลกำไร กระตุ้นยอดขายสินค้า และเรียกเก็บเงินจากลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น